วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560




หน่วยการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความเป็นไทย
·       เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
·       เรื่องที่ 2 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
·       เรื่องที่ 3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  รักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์
·       เรื่องที่ 1 ความรักชาติ
·       เรื่องที่ 2 การยึดมั่นในศาสนา
·       เรื่องที่ 3 การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
·       เรื่องที่ 4 พระบรมราโชวาทและหลักการทรงงาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
·       เรื่องที่ 1 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
·       เรื่องที่ 2 การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ความปรองดอง สมานฉันท์
·       เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
·       เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
·       เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  ความมีวินัยในตนเอง
·       เรื่องที่ 1 ความมีวินัยในตนเอง
·       เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่
Banner หัวบล็อก
กว้าง 1000 x200



เรื่องที่ 3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
เรื่องที่ 3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่
1.1  ด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ความสามารถในการผสมผสานองคืความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองได้ในสภาวการณ์ต่าง เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน
1.2  ด้านอุตสาหกรรม  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปปลปลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย และประหยัด อันเป็นกระบานการให้ชุมชนท้องถิ่นพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ เช่นการทำเครื่องเรือนจากไม้ การทอผ้า ทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน
1.3  ด้านการแพทย์  ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตันเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น ยาจากสมุนไพรทีอยู่หลากหลาย อาทิ การใช้ใบกระเพราแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ การนวดแผนโบราณและการประคบที่ใช้สมุนไพรประกอบการนวด การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน
 การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
1.  ศึกษา  ค้นคว้า  และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา  เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้   ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต  เพื่อให้เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดการยอมรับ  และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2.  ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า  ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
    3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรม ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน  ประสานงานการบริการความรู้  วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
 4.  ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. สร้างทัศนคติ  ความรู้  และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง  ฟื้นฟู  และการดูแลรักษา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ   และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน
6.  จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ  สามารถเลือกสรร  ตัดสินใจ  และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย
 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
   1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
 3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
 4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
 5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกัน หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือปฎิบัติสืบต่อๆกันมานาน มีคุณค่าทางชีวิต มักแฝงไปด้วยศีลธรรมจรรยา ความคิด ความเชื่อ เช่น การทีมารยาทไทย การปฎิบัติตนอย่างถูกกาลเทศะ รวมถึงการมีประเพณี ต่างๆซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย  ขนบธรรมเนียมแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่                                                  
     1.  ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนบุคคลหรือประเพณีครอบครัว   เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโดยเฉพาะ เช่น ประเพณีการเกิด   ประเพณีเกี่ยวกับการศึกษา ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการตาย

เรื่องที่ 2 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่
เรื่องที่ 2 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
ความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่


  •         ช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยวัตถุสิ่งของโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ การสร้างถนนหนทาง สร้างสะพาน สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น เพื่อให้คนหมู่มากใช้สอยร่วมกัน



  •         ความมีน้ำใจยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยไม่หวงแหน แนะนำหลักการดำเนินชีวิต โดยอาศัยหลักธรรมและประสบการณ์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ การเสียสละสุขและผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อสุขและประโยชน์ส่วนรวม การเสียสละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เล็กน้อย เพื่อประโยชน์ที่มาก กว่า เป็นการสละกิเลสออกจากใจ



  •         ระลึกถึงการเสียสละที่ผ่านมา เป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน เมื่อได้ปฏิบัติธรรม จะอุดหนุนใจให้เบิกบาน เกิดปีติเอิบอิ่ม ต่อจากนั้นจะเกิดความสงบกายสงบใจ มีใจตั้งมั่นแน่วแน่ ทำให้ประกอบหน้าที่การงานได้ผลดี



  •         เมื่อระลึกถึงการเสียสละของตนอยู่เป็นนิตย์ว่า เป็นลาภของเราแท้ เราได้ปฏิบัติดีแล้ว คนอื่นถูกความตระหนี่รุมเร้าเผาใจอยู่ แต่เรามิได้เป็นเช่นเขา มีใจปราศจากความตระหนี่ มีอัธยาศัยยินดีในการเสียสละ ใครต้องการขอ เราพอใจในการให้และการแบ่งปันกัน เมื่อระลึกอยู่อย่างนี้ จิตจะไม่ถูกราคะ โทสะ และโมหะรุกรานรังแก


        ความมีน้ำใจมีอานิสงส์กำจัดความตระหนี่หวงแหน ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี เมื่อกำจัดความตระหนี่ได้อย่างนี้ ย่อมมีผลทำให้ตัวเราเอง มีจิตใจปลอดโปร่ง ไม่เคียดแค้น

        ความมีน้ำใจ การเสียสละ เป็นบารมีธรรมของผู้มีอัธยาศัยเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยบารมีธรรมนี้ เป็นหลักที่ทำให้บุคคลมุ่งมั่นในการทำความดี แม้จะประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย จะไม่หวั่นไหว มีจิตใจเสียสละ เอื้อเฟื้อด้วยวัตถุสิ่งของและสละความไม่พอใจกัน ความขัดเคืองใจต่อกันออกไปจากจิตใจ จึงทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสงบสุข

        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำทุกระดับชั้น ต้องการเป็นผู้นำมากกว่าผู้นำโดยทั่วไป แต่การจะเป็นผู้นำในหน้าที่การงาน และครองใจผู้ตามได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากคุณสมบัติเฉพาะตัวคือมีความรู้ มีความสามารถเป็นที่ยอมรับแล้ว ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละที่ประกอบด้วยเหตุผลสมบูรณ์ ไม่ใช่การเสียสละให้โดยปราศจากเหตุผล นี่เองที่เป็นจุดเด่นสำคัญ ที่ทำให้ผู้นำทุกระดับชั้น สามารถบริหารจัดการงานและบุคลากรในองค์กรและขับเคลื่อนเพื่อให้เป็นผลสำเร็จ ตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้

        คงเคยได้ยินคำชื่นชมผู้นำบางคน ซึ่งมีน้ำใจให้ผู้ตาม หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้ทุ่มเททำงานแบบมอบกายถวายชีวิตกันเลยทีเดียว
การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถปฎิบัติได้หลายแนวทาง ดังนี้

    1. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง

    2. รู้จักให้มากกว่ารับ โดยการแสดงน้ำใจต่อคนรอบข้างทุกครั้งที่มีโอกาส เช่น มองเงินหรือสิ่งของที่จำเป็นให้แก่ผู้ยากไร้ ช่วยครูถือของ ช่วยสอนการบ้านให้เพื่อน เป็นต้น

    3. รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยการปิดกั้นความคิดหรือการกระทำในทางที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้อื่น และไม่เบียดเบียนกั

    4. มีจิตใจโอบอ้อมอารี

    5. มีความปรารถนาดีและจริงใจต่อผู้อื่นเสมอ

    6. มีความห่วงใยคนรอบข้างอยู่เสมอมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
ความเสียสละ

        ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวม มากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว

        คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะเกิดความสงบสุข ได้ควรจะมีคุณธรรมคือความเสียสละ คือเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะถ้าต่างคนต่างเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่คนอื่นแล้ว ส่วนรวมก็จะเดือดร้อน เมื่อส่วนรวมเกิดความเดือดร้อนเสียแล้วความสุขความสงบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

        การ เสียสละจึงเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในสังคม เริ่มตั้งแต่ครอบครัวอันเป็นหน่วยเล็กๆ ของสังคม ต้องเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่กัน เสียสละทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความเหนื่อยยากลำบากให้แก่กัน ทั้งในยามปกติและคราวจำเป็น

        ดังจะเห็นได้จากที่มีการเสียสละ และบริจาคทรัพย์ สิ่งของเพื่อช่วยเหลือกัน ในเมื่อประสบภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่คนในที่ใดที่หนึ่ง ก็มักจะมีการรับบริจาคเพื่อนำเงินหรือสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความ ทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น หรือไม่ก็มีการรับบริจาคสิ่งของเพื่อนำไปสร้างเป็นสาธารณ ประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวม

        บุคคลผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลังมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังกาย บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังสติปัญญา ทุกๆ ครั้งที่ช่วยเหลือก็มีความกรุณาสงสารเป็นเบื้องหน้า มุ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ บริสุทธิ์ใจ

        ผู้ ที่ฝึกฝนมาดีในเรื่องของการเสียสละย่อมสละได้โดยง่าย ไม่ต้องฝืนใจ สามารถที่จะทำได้อย่างสม่ำเสมอ และสามารถที่จะเสียสละให้ได้แม้สิ่งอันเป็นที่รัก ที่ให้ได้โดยยาก มีอวัยวะและชีวิตเป็นที่สุด

        ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการเสียสละ เป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่งที่สร้างความนับถือ ผูกไมตรี ทำคนเกลียดให้รัก ทำคนที่รักอยู่แล้วให้มีความรักมากยิ่งขึ้น ย่อมให้ผลที่ดีเสมอ ก่อให้เกิดความชื่นชมยินดีต่อกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือผู้รับ คนที่มีน้ำใจเสียสละคิดจะเฉลี่ยแบ่งปันลาภผลและความสุขของตนแก่ผู้อื่นอยู่ เสมอนั้น ไม่ว่าใครๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย

        ดังนั้น ผู้ที่มองเห็นการณ์ไกลควรพยายามฝึกตนให้เป็นคนเสียสละแบ่งปันวันละนิด เป็นการสร้างนิสัย อุปนิสัยและอัธยาศัยที่ดีให้แก่ตนเอง ซึ่งอุปนิสัยนี้จะค่อยๆ ฝังลึกลงในจิตใจ กลายเป็นอุปนิสัยที่มั่นคง ทำลายได้โดยยาก เป็นอุปนิสัยประจำตัวต่อไป

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย

.ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มารยาทไทย

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
เรื่องที่ 1 มารยาทไทย



  •  สังคมไทยให้ความสำคัญกับกิริยามารยาทมาตั้งแต่อดีต มีการกำหนดระเบียบแบบแผน จนกลายเป็นธรรมเนียมให้ยึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมา
  •  การเรียนรู้เรื่องมารยาทไทยที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ที่มีมารยาทงดงาม ย่อมเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้พบเห็น ช่วยเสริมสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี



  • มารยาทในการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป้็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ เช่นการไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแสดงความเคารพ มีความแตกต่างไปตามความเหมาะสมของผู้รับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะใด หรือในโอกาสใด.
  • การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การไหว้แบบไทยแบ่งเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคลดังนี้
  • ไหว้พระสงฆ์ ประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้สัมผัสส่วนบนของหน้าผาก
  • ไหว้พ่อแม่ ครู ญาติผู้ใหญ่ ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้สัมผัสระหว่างคิ้ว
  • ไหว้รุ่นพี่ เพื่อน ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้สัมผัสปลายจมูก
  • การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทในการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
  • ศึกษาวิธีการไหว้ในระดับต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
  • ไหว้บุคคล รูปเคารพ และสถานที่ต่างๆ อย่างถูกวิธี เหมาะสม
  • เข้าร่วมกิจกรรมการไหว้ เช่นกิจกรรมการประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
  • แนะนำและถ่ายทอดวิธีการไหว้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้อื่น
  • สนับสนุน และชื่นชมผู้ที่ไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
  • การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
  • อธิบายถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมการไหว้ของไทยที่ถูกต้อง
  • แสดงตัวอย่างวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
  • ฝึกฝนให้ผู้อื่นไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
  • เชิญชวน และส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์มารยาทไทย เช่น เข้าร่วมประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
  • สอนวัฒนธรรมการไหว้ให้แก่ชาวต่างชาติ
  • การมีสัมมาคารวะ  บุคคลผู้มีสัมมาคารวะ คือ ผู้ที่แสดงกิริยามารยาทต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนไทยที่พึงปฎิบัติ ผู้มีสัมมาคารวะย่อมได้รับคำชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง และได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาตนทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
  • การปฎิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
  • แสดงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ด้วยวิธีการไหว้การกราบ เป็นต้น
  • สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักกาลเทศะในทุกสถานการณ์และทุกสถานที่
  • ให้เกียรติบุคคลและสถานที่ ด้วยการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมตามโอกาส
  • แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณ
  • ปฎิบัติตามกติกา กฎ ระเบียบแบบแผนของครอบครัว โรงเรียน องค์กร ชุมชน และประเทศชาติ
  • การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
  • ศึกษาและฝึกปฎิบัติตนในการมีสัมมาคารวะ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และชำนาญ
  • ปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้าน กาย วาจา ใจ ทั้งต่อบุคคล สถานที่ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฎิบัติตาม
  • ให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น ในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ด้วยการฝึกฝนให้ปฎิบัติ และอธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฎิบัติ
  • เข้าร่วม ส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความมีสัมมาคารวะ เช่น ค่ายคุณธรรม พิธีไหว้ครู เป็นต้น
  • จัดทำสสื่อเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงความเคารพของไทย เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ศึกษา และถ่ายทอดให้ผู้อื่นสืบต่อไป
  • การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
  • จัดทำสื่อนวัตกรรม เอกสารเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการปฎิบัติตน ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และโอกาส
  • เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำผู้อื่นในการแสดงมารยาทด้านความมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
  • ส่งเสริมและแนะนำให้ผู้อื่นเข้าร่วมจัดกิจกรรมเกี่ยวกับมารยาทไทยที่จัดขึ้นในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ